เห็ดตับเต่าหรือเห็ดผึ้ง

ลักษณะทางกายภาพ
พบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 30ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 93% pH 7
ความเข้มแสง 160 Lux หลังฝนตกหนัก 2-3 วัน อากาศร้อนอบอ้าว
พบตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
ลักษณะการเกิด
ขึ้นเป็นดอกเดี่ยว ใกล้กันบนดิน พบในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ
ลักษณะสัณฐานวิทยา
หมวกเห็ด โค้งนูนแบบกระทะคว่ำ เกือบเป็นครึ่งวงกลม สีแดงเลือดหมู
ผิวบนของหมวกเห็ดไม่เรียบ เพราะมีรอยย่นขรุขระเป็นบางส่วน
หมวกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร ก้านดอกเห็ดยาวประมาณ 8
เซนติเมตร โคนใหญ่ปลายเรียวเล็กลงกว่าเล็กน้อย โคนปลายก้านใหญ่ประมาณ 1-1.5
เซนติเมตร รูปร่างตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก
ก้านมีสีเดียวกับหมวกค่อนข้างหยาบเป็นเส้นยาวๆ ตลอดก้าน
เนื้อภายในมีสีเหลือง มีลักษณะยืดหยุ่นและเปราะเหมือนเห็ดสดทั่วไป
ลักษณะสปอร์
รูปร่างกลมรีปลายด้านหนึ่งเรียวเล็กกว่าปลายด้านหนึ่ง
สีน้ำตาลอมเหลือง
ลักษณะทั่วไป
รับประทานได้
เห็ดผึ้ง หรือเห็ดเผิ่ง เป็นเห็ดป่าที่มีสีเหลืองผิวหมวกละเอียด
ใต้หมวกไม่มีครีบ หากแต่มีรูอากาศเรียงติดกันเป็นพืดแทน
คล้ายๆกับรังของผึ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ นิยมนำมาแกงหมก หรือผัด
อร่อยมากๆๆ
เห็ดตับเต่าหรือเห็ดห้า (ภาคเหนือ) หรือเห็ดผึ้ง,เห็ดผึ่ง (ภาคอีสาน)
เป็นเห็ดที่ต่างประเทศเรียกทั่วๆไปว่าโบลีท (bolete) เป็นเห็ดทรงร่ม
ในร่มมีรูเล็กๆ สร้างสปอร์หรือเมล็ดเห็ดในรู (pore) นี้ ,
จึงเรียกแบบรวมๆว่า พอร์ ฟันไจ (pore fungi) ชนิดหนึ่ง
เราพบเห็ดตับเต่าเกิดตามธรรมชาติ ในฤดูฝนจากป่าธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ป่าแพะ ป่าสะแก ใต้ร่มโพธิ์ ไทร กุ่ม ฯลฯ
และในสวนไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น สวนมะม่วง มะไฟ ลำไย สวนไม้ผลที่มีต้นทองหลาง
กระถินยักษ์ กระถินเทพา ฯลฯ
การประชุมกรรมการนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยเมื่อ 1 มิ.ย. 48
ที่ผ่านมา คุณปราโมทย์ ไทยทัตตกุล
รายงานว่าพบเห็ดตับเต่าขึ้นกับรากของต้นรำเพย คุณดำริ เติมมี
รายงานพบเห็ดตับเต่าขึ้นกับรากของต้นส้มโอ
ที่จริงจะยังมีพืชอีกมากมายที่ยังไม่มีผู้รายงานอย่างเป็นทางการว่าอยู่ร่วม
ด้วยกับเห็ดตับเต่า หากเราทำข้อมูลให้กว้างขึ้น
เมื่อปลูกป่าแต่ละครั้งจะเป็นการปลูกเห็ดไปด้วย
in thaialnd?
ReplyDelete