Saturday, December 15, 2012

เห็ดไค หรือ เห็ดหล่ม

เห็ดไค หรือ เห็ดหล่ม

เห็ดไค



ชื่อท้องถิ่น:เห็ดไค
ชื่อสามัญ:เห็ดไค
ชื่อวิทยาศาสตร์:-
ชื่อวงศ์:-
ลักษณะวิสัย/ประเภท:อื่นๆ
ลักษณะพืช:เห็ดไค มีลักษณะ คล้ายเห็ดก่อ ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม ชอบขึ้นตามป่าที่เปียกชื่นเวลาฝนตกใหม่ๆแหล่งธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ส่วนมากทางภาคอีสาน เห็ดไคส่วนมากนิยมมาประกอบอาหารทางอีสานเรียกว่า เห็ดไค ทางเหนือเรียกเห็ดหล่ม ทางภาคกลางเรียกเห็ดตะไคร เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาิติคนท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะแก้โรคต่างๆ ได้มากมายตามความเชื่อของคนโบราณซึ่งได้ชืบทอดกันมา
ปริมาณที่พบ:น้อย
การขยายพันธุ์:ใช้ส่วนอื่นๆ
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:เห็ดตะไคลพบได้ท้องถิ่นตามธรรมชาติ บริเวณหนองน้ำ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง แถบภาคอีสาน เหนือ
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:วิธีทำซุปเห็ดไค หรือ แจ่วเห็ดไค1. นำเห็ดไคมาล้างให้สะอาด แกะดินออกให้หมดนะ ไม่งั้นจะได้กินทรายที่ติดมากับเห็ด มันสิเข็ดแข่ว
2. นำเห็ดไปย่างไฟให้สุดพอเหลืองๆ (อาจเกรียมขอบเล็กน้อย)
3. นำพริกขี้หนูสดๆ เผาไฟให้สุกพอหอม
4. โขลกพริกขี้หนูให้ละเอียด เสร็จแล้วนำเห็ดไคที่ย่างไฟเตรียมไว้ลงไปโขลกให้ละเอียดด้วยเช่นกัน
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า, น้ำปลาร้า, แป้งนัว (แป้งนัว = ผงชูรส)(บางสูตรอาจใส่เนื้อปลาช่อนไปด้วย)
6. ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆ ลวกผัก และผักสดต่างๆ
แหล่งที่พบ:-
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:ลักษณะทางพฤกษศาตร์:
ดอก เห็ดอ่อนสีขาวนวล ผิวหมวกเห็ดเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-15 ซม. เมื่อบานรูปร่างคล้ายกรวย ตรงกลางหมวกเว้าลงเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเนื้อ เนื้อหมวกหนาด้านล่างหมวกมีครีบเรียงกันเป็นรัศมี ก้านดอกมีลักษณะกลมใหญ่ โคนก้านดอกเรียวเล็กกว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวด้านนอกสีขาวนวลและเรียบ เมื่อกระทบแสงไฟในตอนกลางคืนจะเรืองแสง

เห็ดระโงก

เห็ดระโงก

เห็ดระโงก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Amanita vaginata
ชื่ออื่น เห็ดไข่ห่าน
ถิ่นกำเนิด ประเทศไทย
ฤดูกาล ฤดูฝน
ลักษณะทางพันธุศาสตร์ เห็ดระโงกมีทั้งสีขาว สีแดงและสีเหลือง ดอกตูมกลีบรี คล้ายไข่ห่าน เมื่อโตขึ้นหมวกและก้านดอกจะดันปลอกหุ้มแตกออกมา สปอร์และครีบสีขาว แล้วแต่สายพันธุ์ ดออกเห็ดมีลักษณะเป็นเมือก ขอบหมวกมีร่องเล็กๆตรงกันกับครีบ เมื่อดอกบานขอบหมวกจะขาดตามรอยนี้ ด้านล่างหมวกมีครีบสีขาว ก้านดอกยาวเป็นทรงกระบอก ผิวเรียบสีขาวหรือเหลืองนวล เนื้อเยื่อภายในก้านดอกสีขาว และสานต่อกันอย่างหลวมๆ ตรงกลางก้านดอกมีรูกลวงเล็กน้อย
แหล่งปลูก เกิดเองตามธรรมชาติมักขึ้นเป็นกลุ่มเล็กๆ พบได้ ตามป่าโปร่งหรือป่าละเมาะทั่วไป ของภาคอีสานและภาคเหนือ
การกิน คนอีสานมักนำไปห่อหมก แกงเห็ดระโงก หรือแกงเห็ดระโงกใส่มะขาม คนเหนือนำไปนึ่งหรือต้มจิ้มน้ำพริก

เห็ดตับเต่าหรือเห็ดผึ้ง

เห็ดตับเต่าหรือเห็ดผึ้ง


ลักษณะทางกายภาพ พบในบริเวณที่ชื้น อุณหภูมิ 30ºC ความชื้นสัมพัทธ์ 93% pH 7 ความเข้มแสง 160 Lux หลังฝนตกหนัก 2-3 วัน อากาศร้อนอบอ้าว พบตลอดช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ลักษณะการเกิด ขึ้นเป็นดอกเดี่ยว ใกล้กันบนดิน พบในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ลักษณะสัณฐานวิทยา หมวกเห็ด โค้งนูนแบบกระทะคว่ำ เกือบเป็นครึ่งวงกลม สีแดงเลือดหมู ผิวบนของหมวกเห็ดไม่เรียบ เพราะมีรอยย่นขรุขระเป็นบางส่วน หมวกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร ก้านดอกเห็ดยาวประมาณ 8 เซนติเมตร โคนใหญ่ปลายเรียวเล็กลงกว่าเล็กน้อย โคนปลายก้านใหญ่ประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร รูปร่างตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก ก้านมีสีเดียวกับหมวกค่อนข้างหยาบเป็นเส้นยาวๆ ตลอดก้าน เนื้อภายในมีสีเหลือง มีลักษณะยืดหยุ่นและเปราะเหมือนเห็ดสดทั่วไป ลักษณะสปอร์ รูปร่างกลมรีปลายด้านหนึ่งเรียวเล็กกว่าปลายด้านหนึ่ง สีน้ำตาลอมเหลือง ลักษณะทั่วไป รับประทานได้ เห็ดผึ้ง หรือเห็ดเผิ่ง เป็นเห็ดป่าที่มีสีเหลืองผิวหมวกละเอียด ใต้หมวกไม่มีครีบ หากแต่มีรูอากาศเรียงติดกันเป็นพืดแทน คล้ายๆกับรังของผึ้ง จึงเป็นที่มาของชื่อ นิยมนำมาแกงหมก หรือผัด อร่อยมากๆๆ เห็ดตับเต่าหรือเห็ดห้า (ภาคเหนือ) หรือเห็ดผึ้ง,เห็ดผึ่ง (ภาคอีสาน) เป็นเห็ดที่ต่างประเทศเรียกทั่วๆไปว่าโบลีท (bolete) เป็นเห็ดทรงร่ม ในร่มมีรูเล็กๆ สร้างสปอร์หรือเมล็ดเห็ดในรู (pore) นี้ , จึงเรียกแบบรวมๆว่า พอร์ ฟันไจ (pore fungi) ชนิดหนึ่ง เราพบเห็ดตับเต่าเกิดตามธรรมชาติ ในฤดูฝนจากป่าธรรมชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป่าเต็งรัง หรือป่าแดง ป่าแพะ ป่าสะแก ใต้ร่มโพธิ์ ไทร กุ่ม ฯลฯ และในสวนไม้ผลไม้ยืนต้น เช่น สวนมะม่วง มะไฟ ลำไย สวนไม้ผลที่มีต้นทองหลาง กระถินยักษ์ กระถินเทพา ฯลฯ การประชุมกรรมการนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยเมื่อ 1 มิ.ย. 48 ที่ผ่านมา คุณปราโมทย์ ไทยทัตตกุล รายงานว่าพบเห็ดตับเต่าขึ้นกับรากของต้นรำเพย คุณดำริ เติมมี รายงานพบเห็ดตับเต่าขึ้นกับรากของต้นส้มโอ ที่จริงจะยังมีพืชอีกมากมายที่ยังไม่มีผู้รายงานอย่างเป็นทางการว่าอยู่ร่วม ด้วยกับเห็ดตับเต่า หากเราทำข้อมูลให้กว้างขึ้น เมื่อปลูกป่าแต่ละครั้งจะเป็นการปลูกเห็ดไปด้วย

เห็ดขมิ้น

เห็ดขมิ้น


เห็ดสีเหลืองนี่ประเทศไทยเรียกเห็ดขมิ้นหรือเห็ดมันปูใหญ่ ไม่มีรสหรือกลิ่นเฉพาะ โดนความร้อนแล้วไม่เละ มีดีที่สีเหลืองของเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เรา ค่าตัวในตลาดกิโลละ600บาท

เห็ดขมิ้น ชื่อท้องถิ่น: เห็ดขมิ้น ชื่อสามัญ: เห็ดขมิ้น ชื่อวิทยาศาสตร์: Craterellus sp. ประเภท: จุลินทรีย์ › เห็ด รูปร่าง ลักษณะ: เห็ดขมิ้นน้อยเป็นเห็ดที่มีขนาดเล็ก สวยงามคล้ายดอกไม้ เห็ดชนิดนีมีจำหน่ายตามท้องตลาดทางภาคเหนือในฤดูฝน นำมา รับประทานได้ดอกเห็ดมีสีเหลือง หมวกเห็ดบานออกเป็นรูปกรวยปาก แตรคล้ายดอกบานบุรีขนาดเล็ก ตรงกลางบุ๋มลึกลงไปจนบาง ดอกเป็น รูกลวงตรงกลาง ผิวด้านบนเหลืองเข้มและมีผิวเรียบ เนื้อเห็ดเหนียวและ กรอบกรุบขอบหมวกหยักเป็นคลื่นโดยรอบ ด้านล่างมีสีขาวนวลค่อนข้าง เรียบหรือนูนเป็นคลื่นห่าง ๆ หมวกเห็ดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ก้าน ดอกมีสีเหลืองเข้มเช่นเดียวกับสีด้านบนของหมวกเห็ด เนื้อเยื่อภายในก้าน ดอกมีสีขาวนวล ก้านดอกเห็ดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 2.3เซนติเมตร สปอร์รูปรีสีขาวนวล ผิวเรียบผนังบางขนาด 10-11x 6-6 ไมโครเมตร ก้านดอกรับประทานได้ ( อนงค์ , 2542 ) ฤดูกาลที่พบ: ฤดูฝน การใช้ประโยชน์: กินได้ อธิบายวิธีการนำไปใช้ประโยชน์: นำไปนึ่งทานกับน้ำพริก เห็ดขมิ้น มีแก้โรคตาขุ่นมัว ช่วยให้การทำงานของปอด ลำไส้และกระเพาะอาหารดีขึ้น การเพาะ/ขยายพันธุ์(ถ้ามี): - แหล่งที่พบ: บนพื้นดินในป่าที่มีใบไม้ตกหล่นปกคลุม และมีความชื้น ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม: -